ลิงมาร์โมเส็ทธรรมดา (common marmoset) edit

Scientific classification edit

ลิงมาร์โมเส็ทธรรมดา (common marmoset)
 
Common Marmoset
(Callithrix jacchus)
Scientific classification
Kingdom:
Phylum:
Class:
Order:
Family:
Genus:
Species:
C.  jacchus

บทนำ edit

ชีววิทยา edit

ลิงมาร์โมเส็ทธรรมดา ลักษณะทั่วไป มีสีขาวบริเวณด้านข้างของหัว ลำตัวจะมีขนสั้นสีเทาและลายสีเทาเข้ม หางมีสีเทาจางสลับเทาเข้ม ความยาวลำตัวประมาณ 20–25 เซนติเมตร หางยาว 29–35 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 400 กรัม เป็นลิงขนาดเล็ก ลำตัวมีขนนิ่ม สั้นสีเทาและลายสีเทาเข้ม ความยาวลำตัวประมาณ 12-15 เซนติเมตร หางมีสีเทาจางสลับกับเทาเข้ม ความยาวประมาณ 29.5-35 เซนติเมตร บริเวณด้านข้างของหัวเป็นกระจุกมีขนสีขาว มีช่องจมูกห่างกันโดยมีผนังกั้นและช่องจมูกชี้ออกด้านข้าง บางชนิดมีหางที่พันต้นไม้ หรือกิ่งไม้ได้ จึงมักอาศัยอยู่บนต้นไม้ พบในทวีปอเมริกาใต้ และอเมริกากลาง มีสูตรฟัน I:C:PM:M = 2:1:3:3 หรือ 2 ในลิงบางชนิดมีฟัน 36 ซี [1]

ถิ่นอาศัยและอาหาร edit

ถิ่นอาศัย, อาหาร มีถิ่นอาศัยอยู่ป่าเขตร้อนทางภาคตะวันออกของบราซิล กินผลไม้ แมลง ไข่นก รวมทั้งนกขนาดเล็ก

การสืบพันธุ์ edit

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ละประมาณ 3–8 ตัว จะวิ่งและกระโดดไปมาบนต้นไม้ สามารถกระโดดจากกิ่งไม้กิ่งหนึ่งไปยังอีกกิ่งหนึ่งซึ่งไม่ไกลมากนัก ตอนกลางคืนจะซ่อนตัวในโพรงไม้หรือพุ่มไม้ ลิงมาโมเส็ทธรรมดามีระยะตั้งท้องนาน 142-150 วัน ออกลูกครั้งละ 1-3 ตัว [2]

ความสำคัญ edit

สัตว์ทดลองเพื่อการศึกษาพันธุศาสตร์ edit

ทีมวิจัยญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการสร้างลิงมาร์โมเซ็ทดัดแปลงพันธุกรรม ทำให้เรืองแสงได้ด้วยยีนในแมงกะพรุน นับเป็นลิงจีเอ็มโอตัวแรกของโลก ที่สามารถถ่ายทอดยีนเรืองแสงสู่รุ่นลูกได้ นักวิจัยหวังใช้เป็นทางสร้างลิงต้นแบบศึกษาโรคในคน ทีมวิจัยญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการสร้างลิงมาร์โมเซ็ทดัดแปลงพันธุกรรมทำให้เรืองแสงได้ด้วยยีนในแมงกะพรุน นับเป็นลิงจีเอ็มโอตัวแรกของโลก ที่สามารถถ่ายทอดยีนเรืองแสงสู่รุ่นลูกได้ นักวิจัยหวังใช้เป็นทางสร้างลิงต้นแบบศึกษาโรคในคน ด้านเอ็นจีโอหวั่นนำไปสู่การสร้างมนุษย์ตัดต่อยีนในอนาคต หากได้ติดตามข่าวคราวความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในด้านการตัดต่อพันธุกรรม จะพบว่า ปัจจุบันนักวิจัยจากหลายประเทศประสบความสำเร็จในการตัดต่อพันธุกรรมสัตว์ โดยเฉพาะการจัดต่อพันธุกรรมที่มียีนเรืองแสง ซึ่งทำให้ผิวหนังของสัตว์สามารถเรืองแสงได้ภายใต้แสงยูวี ลิงเรืองแสง เป็นความสำเร็จของนักวิจัยชาวญี่ปุ่นในการสร้างลิงดัดแปรพันธุกรรม โดยให้ผิวหนังสามารถเรืองแสงสีเขียวได้ภายใต้แสงยูวี ทีมวิจัยได้ทดลองเพาะเลี้ยงตัวอ่อนของลิงมาร์โมเซ็ทธรรมดา (common marmoset หรือ Callithrix jacchusในจานเพาะเลี้ยง ซึ่งเป็นลิงขนาดเล็กที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล จากนั้นจึงใช้ไวรัสเป็นตัวนำยีนที่ควบคุมการแสดงออกของโปรตีนเรืองแสงสีเขียว หรือจีเอฟพี (green fluorescent protein: GFP) ใส่เข้าไปในเซลล์ตัวอ่อนหรือเอมบริโอของลิงมาร์โมเซ็ทธรรมดา นักวิจัยนำตัวอ่อนของลิงที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว ไปฝากในท้องแม่ลิงมาร์โมเซ็ทจำนวน 7 4 5 " ทีมนักวิจัยระบุ ซึ่งก้าวต่อไปของงานวิจัย นักวิทยาศาสตร์จะทดลองสร้างลิงมาร์โมเซ็ทตัดต่อพันธุกรรมที่สามารถส่งต่อลักษณะเหล่านั้นไปถึงลูกหลานได้ โดยจะตัดต่อยีนให้มีการแสดงออกของโรคที่เกิดในมนุษย์ เช่น พาร์กินสัน, กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเอแอลเอส (amyotrophic lateral sclerosis: ALS) เป็นต้น [3]

ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของลิงมาร์โมเส็ทธรรมดา และญาติ edit

ลิงอยู่ในสกุล Callithrix มี 8 ชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ที่สัมพันธ์กับการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ Atlantic group มี 3 ชนิด (Callithrix argentata, Callithrix humeralifer และ Callithrix mauesi )และมีการแตกแขนงออกไปใหม่อีก 1 ชนิด แต่จัดอยู่ในสกุลอื่นคือ สกุล Cebuellu (Cebuellu pygmaea) และอีกกลุ่มก็คือ Amazonian group (Callithrix aurita, Callithrix geoffroyi, Callithrix jacchus, Callithrix kuhli และ Callithrix penicillata) โดยทั้ง 2 กลุ่ม ก็มีบรรพบุรุษเดียวกับ (Leontopithecus chrysomelas) [4]

การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของลิงมาร์โมเส็ทธรรมดา edit

การปรับตัวของโครงสร้างร่างกาย edit

ลิงมาร์โมเส็ทธรรมดามีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อให้เหมาะกับการใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้ และเพื่อการหาอาหารให้มีประสิทธภาพมากขึ้น โดยจะมีการเปลี่ยนรูปร่างของซี่ฟัน สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นผู้เชี่ยวชาญในการหาอาหาร ฟันล่างที่มีความยาวคล้ายกับฟันเขี้ยวเพื่อใช้ในการแทะเปลือกผลไม้

การปรับตัวของการเลือกคู่ผสมพันธุ์ edit

ลิงมาร์โมเส็ทธรรมดาเป็นลิงที่มีขนาดเล็ก อาศัยอยู่กลางป่าซึ่งอาจจะโดนปล้นสะดมจากลิง หรือสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า ในกลุ่มหรือในสมาชิกมักมีตัวเมียมากกว่าตัวผู้ เพื่อให้ได้ลูกหรือประชากรใหม่ที่มีความแข็งแรง ตัวผู้จึงเลือกที่จะมีการผสมพันธุ์กับตัวเมียที่มีความแข็งแรง และมีความโดดเด่นที่สุดภายในกลุ่ม

การปรับตัวด้านการดมกลิ่น edit

ลิงมาร์โมเส็ทธรรมดาจะมีโพรงจมูกที่เรียกว่า the vomeronasal organ เป็นอวัยวะที่ช่วยให้ลิงมาร์โมเส็ทธรรมดามีการประมวลผล สัญญาณทางเคมีที่ดี สามารถแยกแยะข้อมูลได้ดี เครื่องมือที่สำคัญที่ลิงโลกใหม่กับลิงโลกเก่าที่ใช้ในการสื่อสารก็คือ มีการปล่อยสารหลั่งออกมาจากต่อมกลิ่น ปล่อยออกมารอบทวารหนัก อวัยวะสืบพันธุ์ เพื่อถ่ายทอดกลิ่นหรือสัญลักษณ์ต่างๆให้แก่กัน [5]

References edit